เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 63 จากการประชุมของคณะกรรมการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากcovid โดยกระทรวงการคลังได้เตรียมเสนอคณะกรรมการ ตามพระราชกำหนด หรือพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท เพื่อพิจารณาการจ่ายเงินเยียวยาในกลุ่มที่ตกหล่น เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในช่วงที่ผ่านมา อีกประมาณ 9 ล้านคน ที่เป็นกลุ่มตกหล่น ซึ่งคาดว่า จะจ่ายเงินเยียวยาได้ภายในเดือนนี้
ซึ่งรัฐเชื่อว่าการเยียวยาครั้งนี้ คือลอตสุดท้ายที่รัฐจะจ่ายเงินเยียวยา
กลุ่มตกหล่น 4 กลุ่มมีใครได้สิทธิ์บ้าง?
แบ่งออกได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
-กลุ่มที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 1.2 ล้านคน (คัดจากเดิม 2.4 ล้านคน)
-กลุ่มที่ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันไม่สำเร็จ โดยคัดกรองจากความซ้ำซ้อนที่รับมาตรการแล้วคาดเหลือ 302,160 คน (จากจำนวนทั้งสิ้น 1.7 ล้านคน) ซึ่งคาดว่า กลุ่มนี้จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน
-กลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการ , ผู้สูงอายุ และเด็ก จำนวน 6.9 ล้านคน จากกรอบเดิมที่ ครม.อนุมัติไว้ 13 ล้านคน จะได้รับเงิน 1000 บาทเป็นเวลา 3 เดือน
-กลุ่มที่ไม่ได้รับการดูแลจากประกันสังคม กรณีจ่ายประกันสังคมไม่ครบ 6 เดือน จำนวน 6.6 หมื่นคน โดยจะได้รับเยียวยา 5000 บาท เป็นเวลา 3 เดือนเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข้างต้น ต้องรอให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินตามพระราชกำหนด ตรวจสอบและยืนยันตัวเลขเงินเยียวยาในกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มอื่นๆว่าจะมีการสรุปเหมือนที่คณะกรรมการเยียวยาได้เสนอหรือไม่แต่จำนวนเดือนที่จะช่วยเหลือยังกำหนดไว้ที่ 3 เดือนคงเดิม โดยคาดว่า 4 กลุ่มที่ตกหล่นดังกล่าว จะเริ่มจ่ายเงินเยียวยาได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้ จำนวน 2 เดือนพร้อมกันและเดือนกรกฎาคมอีก 1 เดือน
แต่หากคณะรัฐมนตรี ไม่อนุมัติได้ทันภายในเดือนนี้ จะต้องเลื่อนการจ่ายเงินเยียวยาไปเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะจ่ายเป็นก้อนเดียว 15,000 บาท จำนวน 3 เดือน
ในส่วนของกลุ่มผู้ที่ร้องทุกข์จากมาตรการเยียวยาเราไม่ทิ้งกันที่ได้มีการเข้ามาร้องเรียนที่กระทรวงการคลังและกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 806,000 คน ในจำนวนนี้คัดกรองข้อมูลเหลือ 1 แสนรายที่จะได้รับการเยียวยาต่อไป และพบว่ามีส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ยังไม่ได้มาลงทะเบียน หรือตกหล่น 6472 คน ส่วนที่เหลือได้รับสิทธิ์เยียวยาอื่นๆ ไปแล้วจะไม่ได้รับสิทธิ์ซ้ำซ้อน