เช็คด่วนเลย เราไม่ทิ้งกัน โอนเพิ่มแล้ว 1 แสนราย
จากมาตรการของรัฐที่ช่วยเหลือเยียวยาประชาชน 5,000 บาท ต่อเนื่อง 3 เดือน ในโครงการเราไม่ทิ้งกัน โดยลงทะเบียนผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com จ่ายเงินให้กับผู้ลงทะเบียนต่อเนื่อง 3 เดือน รวมเป็นเงิน 15,000 บาทจนถึงตอนนี้ แม้ว่าโครงการจะปิดไปแล้วตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 63 เมนูในเว็บไซต์ยังเหลือ 2 เมนูให้ทำรายการคือ ตรวจสอบสถานะและสละสิทธิ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการคลัง หรือสศค. ยืนยันว่า ยังเหลือผู้รับสิทธิอีกกว่า 1 แสนรายที่ระบบกำลังดำเนินการโอนเงินให้ เบื้องต้นการโอนเงินช่วยเหลือผ่านมาตรการเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท 3 เดือน ยังไม่สิ้นสุด ซึ่งยังเหลืออีก 1 แสนรายที่อยู่ระหว่างการโอนเงินเข้าบัญชี
หากใครที่ต้องการทราบว่าเงินเยียวยา ของตนนั้นอยู่ในสถานะไหน สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะจากเราไม่ทิ้งกันได้ที่ เมนูตรวจสอบสถานะ วิธีใช้งาน เมนูตรวจสอบสถานะ นั้นมีขั้นตอน คือ
1)เข้าไปยังเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com
2)กดเมนู ตรวจสอบสถานะ หรือ คลิกที่นี่
3)กรอกข้อมูลผู้ลงทะเบียน หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก, หมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียน และวัน-เดือน-ปีเกิด (หรือไม่ทราบ วัน เดือนเกิด)
4)กด ตรวจสอบสถานะ ก็จะทราบผลการดำเนินการว่าในขณะนี้ผู้ลงทะเบียนได้รับสิทธิหรือขั้นตอนการโอนเงินดำเนินการถึงไหนแล้ว การเยียวยามีปัญหาติดขัดหรือไม่ อย่างไร
นอกจากนั้น ยังมีผู้ที่ลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกันไม่สำเร็จ จำนวน 302160 คน ซึ่งยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการต่างๆของรัฐ รวมทั้ง ไม่เป็นผู้ประกันตนตาม ม.33 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณากำหนดกลุ่มเป้าหมายและกลไกความช่วยเหลือให้ชัดเจน ก่อนส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ พิจารณาใน 1 เดือนเพื่อนำไปสู่มาตรการช่วยเหลือเงินเยียวยาต่อไป
อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการเยียวยา กลุ่มตกหล่นมาตรการเราไม่ทิ้งกัน ทั้ง 302160 รายนั้น จะไม่ได้รับเงินเยียวยา 5000 บาท 3 เดือน รวมเป็นเงิน 15000 บาท/คน เหมือนกลุ่มผู้ลงทะเบียน 15.1 ล้านคนก่อนหน้านี้ เพราะลักษณะ และคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
ขณะที่ กลุ่มผู้ร้องเรียนเยียวยา 2.2 ล้านราย ผ่านกรมประชาสัมพันธ์ศูนย์ดำรงธรรมในพื้นที่จังหวัดต่างๆและผ่านสาขาธนาคารของรัฐ ตอนนี้อยู่ระหว่างการประมวลความช่วยเหลือ โดยตรวจสอบพบว่าในจำนวนนี้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เคยได้รับการเยียวยาจากภาครัฐแล้ว ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีก 20 % กระทรวงการคลังกำลังมองหามาตรการช่วยเหลืออยู่ในขณะนี้.
ขอบคุณที่มา ไทยรัฐ
Social